บันทึกอนุทิน ครั้งที่2
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วันอังคาร ที่26 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557
ความรู้ที่ได้รับวันนี้
ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ทางด้านการแพทย์ มักเรียกเด็กพิเศษ "เด็กพิการ" หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสียสมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา
ทางกายศึกษา หมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องการจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการใช้ และการประเมินผล (ใช้แผน 1 แผน/เด็ก 1คน ถึงแม้ว่าเด็กอาการเดียวกันก็ตาม )
สรุป
1 เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควร ควรให้ควาใช่วยเหลือและการสอนปกติ
2 มีสาเหตุมาจากความบกพร่องทางด้านร่างกาย สติปัญญาและสังคม
3 จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ การบำบัด และฟื้นฟู (เด็กพิเศษทำได้เหมือนเด็กปกติได้แต่อาจจะช้า)
4 การจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับลักษณะและความต้องการของแต่ละบุคคล (เด็กสามารถเลี้ยงดูได้)
พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
1เด็กปกติพัฒนาได้ดีขึ้น แต่เด็กพิเศาเป็นเส้นตรงและลงเรื่อยๆ
2การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
3ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านพัฒนาการ (จะไม่เป็นตามขั้น)
1 เด็กที่มใีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
2 พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายๆด้านหรือทุกด้าน
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
ปัจจัยทางด้านชีวภาพที่ดี เช่น พันธุกรรม ร่างกาย โครโมโซม ยีนส์
ปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด เช่น กินเหล้า ไม่คุยกับลูกขณะอยู่ในท้อง ดูดบุหรี่
ปัจจัยทางด้านกระบวนการคลอด เช่น ฝีมือหมอระหว่างคลอด
ปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด เช่น การดูแลเรื่องอาหาร จิตใจ การใส่ใจ การตบตีของพ่อแม่
ทำให้ลูกเกิดอแารมณ์รุนแรง สภาวะทางจิตใจทางอารมณ์ของครอบครัว
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางด้านต่างๆ
1 พันธุกรรม เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เห็นอาการได้ชัด เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย เช่น
Albinism (ผิวเผือก) ห้ามโดนแดด ผิวจะไหม้ ต้องอยู่แต่ในบ้าน อายุไม่ค่อนยืน
Neurofibromotosis (เท้าแสนปม) เป็นเนื้องอกขึ้นตามตัว แต่ไม่เจ็บ ตัวตุ่มไม่ได้ทำอันตราย ไม่มีการตรักษาที่หายขาด อาการหนัก 8000-9000ตุ่มทั้งตัว
Cleft Lip/Cleft Palate (ปากแหว่ง/เพดานโหว่) เกิดมาเห็นอาการทันที พออายุประมาณ 3-4 เดือนควรรีบไปผ่าตัดโดยเร็วที่สุด ถ้าปล่อยไว้จะบกพร่องทางภาษาการพูด
ปากแหว่งมี 3อาการ 1) แหว่งไม่สมบูรณ์ 2) แหว่งสมบูรณ์ข้างเดียว 3) แหว่งสมบูรณ์ทั้งสอง
2 โรคของระบบประสาท เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่ พบบ่อยสุด คือ อาการชัก
3 การติดเชื้อ การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศรีษะเล็กผิดปกติ มีกฃอาการม้ามโต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก
4 ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม โรคที่ยังเป็นปัญหาของสาธารณะสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
5 ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด การเกิดก่อนคลอด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยและขาดภาวะออกซิเจน
6 สารเคมี ได้แก่ สารตะกั่ว แอลลกอฮอล์
7 การเลี้ยงดูไม่เหมาะสมทั้งการขาดสารอาหาร
8 สาเหตุอื่นๆเช่น ไม่ดูแลปล่อยจนเกิดอุบัติเหตุ เช่น แขนขาพิการ
ประเมินผล
ประเมินตนเอง
เข้าใจความหมายของเด็กพิเศษมากขึ้นทั้งความหมายทางการแพทย์ คือเด็กพิการ เด็กบกพร่อง ส่วนความหมายทางกายภาพ คือเด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตนเอง พยายามจดเนื้อหาที่สำคัญจากอาจารย์ได้ยกตัวอย่าง
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆส่วนมากจะตั้งใจเรียน แต่บางส่วนคุยกันเสียงดังและชอบเล่นโทรสัพท์ไม่ตั้งใจขณะที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น