วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่16




บันทึกอนุทิน ครั้งที่16

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วันอังคาร ที่ 2  เดือน ธันวาคม  พ.ศ. 2557





คาบเรียนแห่งความประทับใจ (คาบสุดท้ายของรายวิชานี้)


สิ่งที่อาจารย์ได้ชี้แจง

             1 สำหรับเพื่อนๆคนไหนที่ไม่ผ่านการสอบกลางภาค ให้มาสอบซ่อมภายในวันพุธ วันที่2 ธ.ค. 57 เวลา บ่ายโมง (ให้เตรียมกระดาษคำตอบมาด้วย)

             2 สอบไฟนอล จะสอบในตาราง ตรงกับวันที่ 9 ธ.ค. 57 เวลา 13.00-15.00 น. ห้อง 15-0908 

             3 กำหนดส่ง แฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิก (บล็อก) ในวันที่ 21 ธ.ค. 57  

             4 ตารางเรียนเทอมหน้า ตอนนี้กำลังริสรายชื่ออาจารย์ผู้สอน ผู้สอนจำนวน 20คน รวมอาจารย์พิเศษด้วย วิธีการเลือกกลุ่มเรียน อาจารย์จะจับสลาก แล้วจะโพสต์ลงในกลุ่มศึกษาศาสตร์ 

             5 การประเมินออนไลน์ เข้าเว็บของคณะศึกษาศาสตร์ แล้วกดเข้าระบบการประเมินออนไลน์





ประเมินในรายวิชา EAED 2209

             1 ความรู้สึกหลังเรียนในรายวิชา EAED 2209

             2 สิ่งที่ประทับใจในรายวิชา EAED 2209

             3 สิ่งที่ชอบและอยากให้อาจารย์คงไว้

             4 สิ่งที่ไม่ชอบและอยากให้อาจารย์ปรับปรุง





สิ่งที่อาจารย์ประเมินนักศึกษากลุ่มเรียน 104

             เป็นกลุ่มที่สอนง่ายมากที่สุด เป็นกลุ่มที่เงียบและตั้งใจเรียนที่สุด แต่ก็มีบางคนที่ชอบคุยกันเวลาอาจารย์ สอน และมาสายเป็นบางเวลา 

             กลุ่มเรียน104  ถือว่าโชคดีที่สุด เพราะเป็นกลุ่มสุดท้ายที่เรียนในวิชานี้  เนื่องจากได้หยุดเสาร์อาทิตย์ กลุ่มเรียนแรกๆรายละเอียดต่างๆอาจมีการตกหล่น มีการลืมในสิ่งที่จะพูดและยกตัวอย่าง พอมากลุ่มสุดท้ายอาจารย์สามารถเกี่ยวรวบรายละเอียดต่างๆ มาสอนได้อย่างครบถ้วนในด้านความรู้ เล่าประสบการณ์ต่างๆที่อาจารย์ได้พบ ทำให้พวกหนูได้เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น และสามารถนำเคสที่อาจารย์ได้เจอนำไปปรับใช้ในอนาตต่อไปได้





การประเมินหลังจากเรียนวิชานี้

ประเมินตนเอง

            ยอมรับว่าก่อนเรียนวิชานี้ ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชานี้เลย ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเด็กพิเศษความหมายคืออะไร ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าเป็นเด็กพิการ ไม่รู้ว่าต้องเรียนไปเพื่ออะไร พอได้เรียนเลยรู้ว่าเราเข้าใจความหมายผิด จากที่ได้เรียนมาทั้งเทอมสามารถเข้าใจถึงเนื้อหาและการส่งเริมเด็กพิเศษประเภทต่างๆได้ เข้าใจถึงความรู้สึกของเด็กพิเศษ จากที่เคยกลัวกลายเป็นความเห็นใจเพราะเขาน่าสงสารมาก และจะพยายามนำความรู้ที่ได้เรียนมา จดจำเทคนิคต่างๆที่ได้เรียน ไปปรับใช้ต่อไปให้เกิดประโยชน์มากที่สุด แต่เสียดายที่ไม่มีโอกาสได้ไปที่มูลนิธิสถาบันแสงสว่าง ถ้าต่อไปได้มีโอกาสไปหนูอยากจะไปค่ะ



ประเมินเพื่อน

           ตอนทั้งเทอมที่ได้รียนมาเพื่อนส่วนมากมีความตั้งใจและพยายามเก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่างๆที่อาจารย์ได้แชร์ ทุกคนให้ความร่วมมือและได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ทุกคนเกิดความสามัคคีมากขึ้น มีเรื่องอะไรก็ช่วยๆกัน 



ประเมินอาจารย์

          หนูเรียนกับอาจารย์เป็นวิชาที่3แล้ว แต่อาจารย์สอนได้ดีเหมือนเดิม ยอมรับว่าวิชานี้เป็นวิชาที่ยากกว่าวิชาอื่น แต่อาจารย์ก็มีเทคนิคในการสอนที่ดีมาก และน่าสนใจ จากเรื่องที่ยากๆน่าเบื่อ ง่วงนอน แต่อาจารย์ก็ทำให้พวกหนูรู้สึกอยากจะเรียน วิชานี้เป็นคาบที่เรียนแล้วสนุกเพราะอาจารย์เข้าใจว่าพวกหนูต้องการอะไร ชอบอะไร อยากให้ในห้องเรียนมีบรรยากาศยังไง เทอมนี้พวกหนูเจอแต่เรื่องเครียดๆหลายเรื่อง แต่อาจารย์สามารถทำให้พวกหนูสบายใจมากขึ้น อาจารย์เป็นทั้งอาจารย์ เป็นเหมือนเพื่อน เหมือนพี่ เป็นทุกๆอย่าง หนูอยากเป็นครูที่ดีเหมือนอาจารย์ค่ะ อยากให้นักเรียนเคารพและมีความรู้สึกดีๆ เหมือนที่หนูและเพื่อนเคารพอาจารย์ค่ะ





บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่15





บันทึกอนุทิน ครั้งที่15

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วันอังคาร ที่25  เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2557





ความรู้ที่ได้รับ






แนวการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น ADHD

การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมาธิสั้น

1 การใช้ยา (เป็นหน้าที่ของแพทย์และผู้ปกครอง)

            -  ยาที่ใช้คือ Ritalin ออกฤทธิ์4ช่วโมง มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้พร้อมที่จรับข้อมูลพร้อมที่จรียนรู้
ไม่อันตราย ไม่ดื้อยา ไม่มีผลค้างเคียง เด็กสมควรกิน เด็กต้องกินยาเม็ดเป็น เพราะเป็นยาเม็ดเท่านั้น 



2 การปรับพฤติกรรม (การฝึกฝนการควบคุมตนเอง) เป็นหน้าที่ของครู

           -  สิ่งแรกที่ครูต้องสอนคือการจัดกิจวัตรปะจำวันของด็ก เพราะเด็กสมาธิสั้นทำอะไรโดยไม่มีการวางแผนเลย จะทำอะไรก็ทำเลย ครูต้องสอนเพื่อให้เขารู้ว่าในหนึ่งวันเขาต้องทำอะไรบ้างเพื่อนเหมือนในเพื่อนในห้องเขาทำกัน เพื่อลดพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น สอนทุกๆวันก็ยิ่งดี

           -  ฝึกฝนให้เด็กมีสมาธิกับสิ่งที่ทำได้ต่อเนื่อง ประมาณ 20-30 นาที เรียงลำดับความยากง่ายให้เป็นขั้นตอน เช่น การระบาย พฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้นมี 2แบบ คือ

          แบบที่ 1 เด็กทำงานเสร็จแต่ไม่รู้เรื่อง ขีดเป็นเส้นๆ

          แบบที่ 2 ทำแปปเดียวไม่ถึง 1นาที จะเริ่มวอกแวกหันซ้าย-หันขวา จะชะโงกหน้าดูเพื่อน และเริ่มลุกก่อกวนเพื่อนข้างๆ หนักเข้าก็จับมือเพื่อนระบายสี หรือลุกไปทำอย่างอื่นเลย ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ครูต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกับเด็ก 
           1 ต้องดูจังหวะของเด็กว่าพร้อมที่ครูจะเดินเข้าไปหาไหม

           2 ต้องเรีกชื่อก่อน ถ้าเด็กตอบสนองดี ครูต้องพูดชักชวนและสมผัส จูงมือเด็กไป ถ้าจูงไม่ได้ก็ปล่อยเด็กไปก่อน แล้วสักพักก็ชวนเด็กอีก พอทำบ่อยๆเด็กจะไม่ขัดขืน ครูต้องยายามกอดและสัมผัสเด็กเยอะๆ 

           - ให้ความสนใจเมื่อเด็กทำตัวดี ให้ชมเด็กเลยเมื่อเด็กสามารถทำเหมือนเด็กปกติทำ เช่น เด็กสามารถกินข้าวกลางวันพร้อมเพื่อนได้ คำชมทำให้เด็กกำลังใจเป็นแรกเสริมทางบวกสำหรับเด็ก ครูไม่ใช่แค่ต้องทำแค่วันเดียวแต่ต้องทำเป็นเดือน อย่าท้อ ต้องใจเย็นๆ เด็กพิเศษต้องการความสม่ำเสมอจากครู 

           - ลงโทษเด็กให้ถูกวิธี  เช่น ลงโทษด้วยการห้ามให้เด็กทำในสิ่งที่ขาชอบ แต่ครูต้องใจแข็งห้ามใจอ่อนเด็ดขาด  ครูต้องจำไว้เลยว่าการตีด็กให้เป็วิธีการสุดท้ายจริงๆเมื่อไม่มีทางลือกอื่นแล้ว 




3 การปรับสภาพแวดล้อม (เป็นหน้าที่ของครู)

           - สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กต้องไม่วุ่นวาย เงียบ เวลาทำงาน ควรจัดมุมที่สงบ ห้องต้องไม่กว้าง ไม่มีคนเดินผ่าน เพราะจะดึงดูดความสนใจจากเด็ก

           - จัดเก็บของเล่นให้เข้าที่และเป็นระเบียบ ให้้นจากสายตาเด็ก เพราะจะล่อตาล่อใจเด็ก เด็กอยากเล่น




การสื่อสารกับเด็กสมาธิสั้น

          - ต้องดูก่อนว่าเขาพร้อมที่จะให้ข้าไปหาหรือยัง เช่น เรีกชื่อเด็กก่อนมื่อเขาพร้อม ก็ชวนด็กมาต้องมีภาษาท่าทางร่วมด้วยเสมอ  และครูต้องใช้คำพูดที่กระชับได้ใจความชัดเจน เช่น เมื่อเด็กกำลังระบายสีแล้วลุกขึ้นจะไปเล่น ครูต้องเรียกชื่อ ".......นั่งก่อน ระบายกับครูค่อยไป"

         - ทุกครั้งที่เข้าไปหาเด็กต้องใช้การกระทำร่วมด้วย นอกจากการสัมผัสแล้ว ครูต้องทำกิจกรรมร่วมกับเด็กด้วย ถ้ามีงานหลายอย่างให้เด็กทำ ต้องบอกทีละงาน ให้เด็กทำเสร็จทีละอย่าง ถ้าบอกเด็กหลายๆงานพร้อมกัน งานก็จะไม่เสร็จสักอย่าง




กิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น

            1 Physical Exertion ภาวะไม่อยู่นิ่ง    การให้เด็กได้ปลดปล่อยพลังงานออกมา แต่จะให้เด็กทำอะไรต้องมีจุดมุ่งหมายเสมอว่าให้เด็กทำเพื่ออะไร แล้วเด็กจะได้อะไร

            2 Self Control ควบคุมตนเอง  การควบคุมสมดุลตัวเอง เช่น เดินบนกระดานแล้วหยอดลูกบอลลงตะกร้า
            3 Relaxation Training ผ่อนคลาย  เช่น  กิจกรรมการแกว่งชิงช้าเป็นจังหวะ เด็กได้สัมผัสแกว่งไปข้างหน้าข้างหลัง เป็นการฝึกสมาธิของเด็ก 




โรงเรียนสำหรับเด็กสมาธิสั้น

           - เด็กสมาธิสั้น สามารถเรียนในโรงเรียนปกติทั่วไปได้ ไม่ได้กีดกัน แต่ต้องเลือกโรงรียนที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นมากแค่ไหน
           
           - สัดส่วนจำนวนเด็กต่อห้องเรียนน้อย ตามมาตรฐาน เด็ก15คน/ครู1คน

           - โรงเรียนที่มีพื้นที่สนามเด็กเล่น หรือสนามกีฬาที่กว้าง เพราะเด็กจะได้ปลดปล่อยพลังงาน





บทบาทของครู

         ให้เด็กนั่งต้องเป็นครึ่งวงกลม ครูต้องกำหนดจุดที่เหมาะสมให้เด็กนั่ง ต้องให้เด็กนั่งใกล้ครู แล้วเลือกเด็กในห้องหนึ่งคนที่มีสมาธิและสนใจตั้งใจเวลาที่ครูสอน และต้องคุมเด็กพิเศษได้ มานั่งข้างๆด็กพิเศษ

นั่งให้ห่างประตูหรือหน้าต่าง เพราะโรงเรียนจะเปิดประตูทำให้มีเสียงดัง เด็กจะสัมผัสได้มามีคนเดินผ่านไปผ่านมาหน้าห้อง เด็กก็จะวิ่งตามออกไป ให้เด็กนั่งทางซ้ายมือของครู เพราะเวลาที่เด็กออกไปจะได้ผ่านครู




หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

           1 สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ) เป็นหน่วยงานที่ใหญ่ที่สุด เป็นศูนย์กลางให้หน่วยงานย่อย ดูแลเด็กทุกประเภท  :กดที่นี่ 


           2 ศูนย์การศึกษาพิเศษ (Early Intervention : EI)  เกี่ยวข้องกับเด็กมากที่สุด

- ศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนสาธิตละอองอุทิศ  กดที่นี่






- ศูนย์การศึกษาพิเศษ  ส่วนกลาง :กดที่นี่

- ศูนย์การศึกษาพิเศษ  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา : กดที่นี่

- ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต6 จังหวัดลพบุรี : กดที่นี่

- ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดปทุมธานี : กดที่นี่


- ศูนย์การศึกษาพิเศษสกลนคร :กดที่นี่

            3  สถาบันราชานุกูล เป็นสถาบันที่ดูแลช่วยเหลือทุกประเภท ทุกอาการ และมีคอสบำบัด : กดที่นี่

            4  มูลนิธิสถาบันแสงสว่าง     : กดที่นี่

            5 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์    :กดที่นี่

            6 โรงเรียนเฉพาะความพิการ   กดที่นี่




คำศัพท์น่ารู้

             ADHD            ย่อมาจาก       เด็กสมาธิสั้น

             Physical Exertion               ลดภาวะไม่อยู่นิ่ง

             Self Control                        ควบคุมตนเอง

             Relaxation Training            ผ่อนคลาย





การประเมินผล

ประเมินตนเอง

            พยายามตั้งใจและจดเนื้อหาที่สำคัญเทคนิคต่างๆ มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม พยายามทำความเข้าใจในสิ่งอาจารย์อธิบาย และต้องกลับไปทบทวนเพิ่มเติม เพื่อจะได้เข้าใจมากขึ้นและสามารถทำข้อสอบได้

ประเมินเพื่อน   
          
            เพื่อนตั้งใจเรียน ทุกคนพยายามจดเนื้อหาที่สำคัญจากที่อาจารย์อธิบาย แต่ก็ยังมีส่วนน้อยที่ไม่ค่อยตั้งใจฟังเล่นโทรสัท์และคุยกันเสียงดัง 


ประเมินอาจารย์  

             อาจารย์สอนกี่ครั้งๆก็ไม่เบื่อ เพราะแต่ละคาบเนื้อหาที่เรียนไม่ซ้ำกันอยู่แล้ว ในคาบนี้เรียนเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้น อาจารย์ก็ได้มีการยกตัวอย่างเหตุการณ์ เทคนิคการรับมือกับเด็กสมาธิสั้น และอาจารย์ก็ไม่มีการนำโทรทัศน์ครูมาให้ดูทำให้หนูเข้าใจและเห็นภาพ 




บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่14



บันทึกอนุทิน ครั้งที่14

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วันอังคาร ที่18  เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2557




ไม่มีการเรียนการสอน

 เนื่องจากมีการจัดกิจกรรม ครูปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์สืบทอดความเป็นไทย 






ลำดับการแสดง








ระบำดอกบัว







ระบำเงือก







รำ 4 ภาค







ละครสร้างสรรค์ เรื่อง ผ้าเช็ดหน้าวิเศษ






นาฏศิลป์ประยุกต์






พ่อของแผ่นดิน






รำรับขวัญข้าว






ระบำเกาหลี