วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่16




บันทึกอนุทิน ครั้งที่16

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วันอังคาร ที่ 2  เดือน ธันวาคม  พ.ศ. 2557





คาบเรียนแห่งความประทับใจ (คาบสุดท้ายของรายวิชานี้)


สิ่งที่อาจารย์ได้ชี้แจง

             1 สำหรับเพื่อนๆคนไหนที่ไม่ผ่านการสอบกลางภาค ให้มาสอบซ่อมภายในวันพุธ วันที่2 ธ.ค. 57 เวลา บ่ายโมง (ให้เตรียมกระดาษคำตอบมาด้วย)

             2 สอบไฟนอล จะสอบในตาราง ตรงกับวันที่ 9 ธ.ค. 57 เวลา 13.00-15.00 น. ห้อง 15-0908 

             3 กำหนดส่ง แฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิก (บล็อก) ในวันที่ 21 ธ.ค. 57  

             4 ตารางเรียนเทอมหน้า ตอนนี้กำลังริสรายชื่ออาจารย์ผู้สอน ผู้สอนจำนวน 20คน รวมอาจารย์พิเศษด้วย วิธีการเลือกกลุ่มเรียน อาจารย์จะจับสลาก แล้วจะโพสต์ลงในกลุ่มศึกษาศาสตร์ 

             5 การประเมินออนไลน์ เข้าเว็บของคณะศึกษาศาสตร์ แล้วกดเข้าระบบการประเมินออนไลน์





ประเมินในรายวิชา EAED 2209

             1 ความรู้สึกหลังเรียนในรายวิชา EAED 2209

             2 สิ่งที่ประทับใจในรายวิชา EAED 2209

             3 สิ่งที่ชอบและอยากให้อาจารย์คงไว้

             4 สิ่งที่ไม่ชอบและอยากให้อาจารย์ปรับปรุง





สิ่งที่อาจารย์ประเมินนักศึกษากลุ่มเรียน 104

             เป็นกลุ่มที่สอนง่ายมากที่สุด เป็นกลุ่มที่เงียบและตั้งใจเรียนที่สุด แต่ก็มีบางคนที่ชอบคุยกันเวลาอาจารย์ สอน และมาสายเป็นบางเวลา 

             กลุ่มเรียน104  ถือว่าโชคดีที่สุด เพราะเป็นกลุ่มสุดท้ายที่เรียนในวิชานี้  เนื่องจากได้หยุดเสาร์อาทิตย์ กลุ่มเรียนแรกๆรายละเอียดต่างๆอาจมีการตกหล่น มีการลืมในสิ่งที่จะพูดและยกตัวอย่าง พอมากลุ่มสุดท้ายอาจารย์สามารถเกี่ยวรวบรายละเอียดต่างๆ มาสอนได้อย่างครบถ้วนในด้านความรู้ เล่าประสบการณ์ต่างๆที่อาจารย์ได้พบ ทำให้พวกหนูได้เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น และสามารถนำเคสที่อาจารย์ได้เจอนำไปปรับใช้ในอนาตต่อไปได้





การประเมินหลังจากเรียนวิชานี้

ประเมินตนเอง

            ยอมรับว่าก่อนเรียนวิชานี้ ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชานี้เลย ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเด็กพิเศษความหมายคืออะไร ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าเป็นเด็กพิการ ไม่รู้ว่าต้องเรียนไปเพื่ออะไร พอได้เรียนเลยรู้ว่าเราเข้าใจความหมายผิด จากที่ได้เรียนมาทั้งเทอมสามารถเข้าใจถึงเนื้อหาและการส่งเริมเด็กพิเศษประเภทต่างๆได้ เข้าใจถึงความรู้สึกของเด็กพิเศษ จากที่เคยกลัวกลายเป็นความเห็นใจเพราะเขาน่าสงสารมาก และจะพยายามนำความรู้ที่ได้เรียนมา จดจำเทคนิคต่างๆที่ได้เรียน ไปปรับใช้ต่อไปให้เกิดประโยชน์มากที่สุด แต่เสียดายที่ไม่มีโอกาสได้ไปที่มูลนิธิสถาบันแสงสว่าง ถ้าต่อไปได้มีโอกาสไปหนูอยากจะไปค่ะ



ประเมินเพื่อน

           ตอนทั้งเทอมที่ได้รียนมาเพื่อนส่วนมากมีความตั้งใจและพยายามเก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่างๆที่อาจารย์ได้แชร์ ทุกคนให้ความร่วมมือและได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ทุกคนเกิดความสามัคคีมากขึ้น มีเรื่องอะไรก็ช่วยๆกัน 



ประเมินอาจารย์

          หนูเรียนกับอาจารย์เป็นวิชาที่3แล้ว แต่อาจารย์สอนได้ดีเหมือนเดิม ยอมรับว่าวิชานี้เป็นวิชาที่ยากกว่าวิชาอื่น แต่อาจารย์ก็มีเทคนิคในการสอนที่ดีมาก และน่าสนใจ จากเรื่องที่ยากๆน่าเบื่อ ง่วงนอน แต่อาจารย์ก็ทำให้พวกหนูรู้สึกอยากจะเรียน วิชานี้เป็นคาบที่เรียนแล้วสนุกเพราะอาจารย์เข้าใจว่าพวกหนูต้องการอะไร ชอบอะไร อยากให้ในห้องเรียนมีบรรยากาศยังไง เทอมนี้พวกหนูเจอแต่เรื่องเครียดๆหลายเรื่อง แต่อาจารย์สามารถทำให้พวกหนูสบายใจมากขึ้น อาจารย์เป็นทั้งอาจารย์ เป็นเหมือนเพื่อน เหมือนพี่ เป็นทุกๆอย่าง หนูอยากเป็นครูที่ดีเหมือนอาจารย์ค่ะ อยากให้นักเรียนเคารพและมีความรู้สึกดีๆ เหมือนที่หนูและเพื่อนเคารพอาจารย์ค่ะ





บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่15





บันทึกอนุทิน ครั้งที่15

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วันอังคาร ที่25  เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2557





ความรู้ที่ได้รับ






แนวการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น ADHD

การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมาธิสั้น

1 การใช้ยา (เป็นหน้าที่ของแพทย์และผู้ปกครอง)

            -  ยาที่ใช้คือ Ritalin ออกฤทธิ์4ช่วโมง มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้พร้อมที่จรับข้อมูลพร้อมที่จรียนรู้
ไม่อันตราย ไม่ดื้อยา ไม่มีผลค้างเคียง เด็กสมควรกิน เด็กต้องกินยาเม็ดเป็น เพราะเป็นยาเม็ดเท่านั้น 



2 การปรับพฤติกรรม (การฝึกฝนการควบคุมตนเอง) เป็นหน้าที่ของครู

           -  สิ่งแรกที่ครูต้องสอนคือการจัดกิจวัตรปะจำวันของด็ก เพราะเด็กสมาธิสั้นทำอะไรโดยไม่มีการวางแผนเลย จะทำอะไรก็ทำเลย ครูต้องสอนเพื่อให้เขารู้ว่าในหนึ่งวันเขาต้องทำอะไรบ้างเพื่อนเหมือนในเพื่อนในห้องเขาทำกัน เพื่อลดพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น สอนทุกๆวันก็ยิ่งดี

           -  ฝึกฝนให้เด็กมีสมาธิกับสิ่งที่ทำได้ต่อเนื่อง ประมาณ 20-30 นาที เรียงลำดับความยากง่ายให้เป็นขั้นตอน เช่น การระบาย พฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้นมี 2แบบ คือ

          แบบที่ 1 เด็กทำงานเสร็จแต่ไม่รู้เรื่อง ขีดเป็นเส้นๆ

          แบบที่ 2 ทำแปปเดียวไม่ถึง 1นาที จะเริ่มวอกแวกหันซ้าย-หันขวา จะชะโงกหน้าดูเพื่อน และเริ่มลุกก่อกวนเพื่อนข้างๆ หนักเข้าก็จับมือเพื่อนระบายสี หรือลุกไปทำอย่างอื่นเลย ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ครูต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกับเด็ก 
           1 ต้องดูจังหวะของเด็กว่าพร้อมที่ครูจะเดินเข้าไปหาไหม

           2 ต้องเรีกชื่อก่อน ถ้าเด็กตอบสนองดี ครูต้องพูดชักชวนและสมผัส จูงมือเด็กไป ถ้าจูงไม่ได้ก็ปล่อยเด็กไปก่อน แล้วสักพักก็ชวนเด็กอีก พอทำบ่อยๆเด็กจะไม่ขัดขืน ครูต้องยายามกอดและสัมผัสเด็กเยอะๆ 

           - ให้ความสนใจเมื่อเด็กทำตัวดี ให้ชมเด็กเลยเมื่อเด็กสามารถทำเหมือนเด็กปกติทำ เช่น เด็กสามารถกินข้าวกลางวันพร้อมเพื่อนได้ คำชมทำให้เด็กกำลังใจเป็นแรกเสริมทางบวกสำหรับเด็ก ครูไม่ใช่แค่ต้องทำแค่วันเดียวแต่ต้องทำเป็นเดือน อย่าท้อ ต้องใจเย็นๆ เด็กพิเศษต้องการความสม่ำเสมอจากครู 

           - ลงโทษเด็กให้ถูกวิธี  เช่น ลงโทษด้วยการห้ามให้เด็กทำในสิ่งที่ขาชอบ แต่ครูต้องใจแข็งห้ามใจอ่อนเด็ดขาด  ครูต้องจำไว้เลยว่าการตีด็กให้เป็วิธีการสุดท้ายจริงๆเมื่อไม่มีทางลือกอื่นแล้ว 




3 การปรับสภาพแวดล้อม (เป็นหน้าที่ของครู)

           - สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กต้องไม่วุ่นวาย เงียบ เวลาทำงาน ควรจัดมุมที่สงบ ห้องต้องไม่กว้าง ไม่มีคนเดินผ่าน เพราะจะดึงดูดความสนใจจากเด็ก

           - จัดเก็บของเล่นให้เข้าที่และเป็นระเบียบ ให้้นจากสายตาเด็ก เพราะจะล่อตาล่อใจเด็ก เด็กอยากเล่น




การสื่อสารกับเด็กสมาธิสั้น

          - ต้องดูก่อนว่าเขาพร้อมที่จะให้ข้าไปหาหรือยัง เช่น เรีกชื่อเด็กก่อนมื่อเขาพร้อม ก็ชวนด็กมาต้องมีภาษาท่าทางร่วมด้วยเสมอ  และครูต้องใช้คำพูดที่กระชับได้ใจความชัดเจน เช่น เมื่อเด็กกำลังระบายสีแล้วลุกขึ้นจะไปเล่น ครูต้องเรียกชื่อ ".......นั่งก่อน ระบายกับครูค่อยไป"

         - ทุกครั้งที่เข้าไปหาเด็กต้องใช้การกระทำร่วมด้วย นอกจากการสัมผัสแล้ว ครูต้องทำกิจกรรมร่วมกับเด็กด้วย ถ้ามีงานหลายอย่างให้เด็กทำ ต้องบอกทีละงาน ให้เด็กทำเสร็จทีละอย่าง ถ้าบอกเด็กหลายๆงานพร้อมกัน งานก็จะไม่เสร็จสักอย่าง




กิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น

            1 Physical Exertion ภาวะไม่อยู่นิ่ง    การให้เด็กได้ปลดปล่อยพลังงานออกมา แต่จะให้เด็กทำอะไรต้องมีจุดมุ่งหมายเสมอว่าให้เด็กทำเพื่ออะไร แล้วเด็กจะได้อะไร

            2 Self Control ควบคุมตนเอง  การควบคุมสมดุลตัวเอง เช่น เดินบนกระดานแล้วหยอดลูกบอลลงตะกร้า
            3 Relaxation Training ผ่อนคลาย  เช่น  กิจกรรมการแกว่งชิงช้าเป็นจังหวะ เด็กได้สัมผัสแกว่งไปข้างหน้าข้างหลัง เป็นการฝึกสมาธิของเด็ก 




โรงเรียนสำหรับเด็กสมาธิสั้น

           - เด็กสมาธิสั้น สามารถเรียนในโรงเรียนปกติทั่วไปได้ ไม่ได้กีดกัน แต่ต้องเลือกโรงรียนที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นมากแค่ไหน
           
           - สัดส่วนจำนวนเด็กต่อห้องเรียนน้อย ตามมาตรฐาน เด็ก15คน/ครู1คน

           - โรงเรียนที่มีพื้นที่สนามเด็กเล่น หรือสนามกีฬาที่กว้าง เพราะเด็กจะได้ปลดปล่อยพลังงาน





บทบาทของครู

         ให้เด็กนั่งต้องเป็นครึ่งวงกลม ครูต้องกำหนดจุดที่เหมาะสมให้เด็กนั่ง ต้องให้เด็กนั่งใกล้ครู แล้วเลือกเด็กในห้องหนึ่งคนที่มีสมาธิและสนใจตั้งใจเวลาที่ครูสอน และต้องคุมเด็กพิเศษได้ มานั่งข้างๆด็กพิเศษ

นั่งให้ห่างประตูหรือหน้าต่าง เพราะโรงเรียนจะเปิดประตูทำให้มีเสียงดัง เด็กจะสัมผัสได้มามีคนเดินผ่านไปผ่านมาหน้าห้อง เด็กก็จะวิ่งตามออกไป ให้เด็กนั่งทางซ้ายมือของครู เพราะเวลาที่เด็กออกไปจะได้ผ่านครู




หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

           1 สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ) เป็นหน่วยงานที่ใหญ่ที่สุด เป็นศูนย์กลางให้หน่วยงานย่อย ดูแลเด็กทุกประเภท  :กดที่นี่ 


           2 ศูนย์การศึกษาพิเศษ (Early Intervention : EI)  เกี่ยวข้องกับเด็กมากที่สุด

- ศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนสาธิตละอองอุทิศ  กดที่นี่






- ศูนย์การศึกษาพิเศษ  ส่วนกลาง :กดที่นี่

- ศูนย์การศึกษาพิเศษ  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา : กดที่นี่

- ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต6 จังหวัดลพบุรี : กดที่นี่

- ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดปทุมธานี : กดที่นี่


- ศูนย์การศึกษาพิเศษสกลนคร :กดที่นี่

            3  สถาบันราชานุกูล เป็นสถาบันที่ดูแลช่วยเหลือทุกประเภท ทุกอาการ และมีคอสบำบัด : กดที่นี่

            4  มูลนิธิสถาบันแสงสว่าง     : กดที่นี่

            5 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์    :กดที่นี่

            6 โรงเรียนเฉพาะความพิการ   กดที่นี่




คำศัพท์น่ารู้

             ADHD            ย่อมาจาก       เด็กสมาธิสั้น

             Physical Exertion               ลดภาวะไม่อยู่นิ่ง

             Self Control                        ควบคุมตนเอง

             Relaxation Training            ผ่อนคลาย





การประเมินผล

ประเมินตนเอง

            พยายามตั้งใจและจดเนื้อหาที่สำคัญเทคนิคต่างๆ มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม พยายามทำความเข้าใจในสิ่งอาจารย์อธิบาย และต้องกลับไปทบทวนเพิ่มเติม เพื่อจะได้เข้าใจมากขึ้นและสามารถทำข้อสอบได้

ประเมินเพื่อน   
          
            เพื่อนตั้งใจเรียน ทุกคนพยายามจดเนื้อหาที่สำคัญจากที่อาจารย์อธิบาย แต่ก็ยังมีส่วนน้อยที่ไม่ค่อยตั้งใจฟังเล่นโทรสัท์และคุยกันเสียงดัง 


ประเมินอาจารย์  

             อาจารย์สอนกี่ครั้งๆก็ไม่เบื่อ เพราะแต่ละคาบเนื้อหาที่เรียนไม่ซ้ำกันอยู่แล้ว ในคาบนี้เรียนเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้น อาจารย์ก็ได้มีการยกตัวอย่างเหตุการณ์ เทคนิคการรับมือกับเด็กสมาธิสั้น และอาจารย์ก็ไม่มีการนำโทรทัศน์ครูมาให้ดูทำให้หนูเข้าใจและเห็นภาพ 




บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่14



บันทึกอนุทิน ครั้งที่14

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วันอังคาร ที่18  เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2557




ไม่มีการเรียนการสอน

 เนื่องจากมีการจัดกิจกรรม ครูปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์สืบทอดความเป็นไทย 






ลำดับการแสดง








ระบำดอกบัว







ระบำเงือก







รำ 4 ภาค







ละครสร้างสรรค์ เรื่อง ผ้าเช็ดหน้าวิเศษ






นาฏศิลป์ประยุกต์






พ่อของแผ่นดิน






รำรับขวัญข้าว






ระบำเกาหลี





วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่13




บันทึกอนุทิน ครั้งที่13
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วันอังคาร ที่11  เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2557





ความรู้ที่ได้รับ






       การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

       วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้เด็กได้มีการพัฒนาเต็มศักยภาพ จนสามารถช่วยตนเองได้ สามารถใช้ชีวิตและเอาตัวรอดได้ก็พอแล้ว

       เป้าหมายของการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้พัฒนาขั้นตอนจากทักษะที่ง่ายไปสู่ทักษะที่ยากขึ้น ซึ่งต่างจากเด็กปกติ คือ เด็กิเศษสอนวันนี้พรุ่งนี้ก็ต้องสอนรื่องเดิมอีกจนจบสัปดาห์ บางคน1เทอมถึงจะสำเร็จ

       ผลที่ได้จากการส่งเสริมพัฒนาการ  คือทักษะต่างๆเกิดและดีขึ้น สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเอง พร้อมที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้

     ประเภทที่1 Down's Syndrome

       จุดประสงค์ของการดูแล เพื่อให้เด็กดูแลตัวเองและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ เน้นการดูแลแบบองค์รวม พัฒนาการต้องส่งเสริมให้ครบทั้ง4ด้าน ต้องได้รับการดูแลจากทุกๆคนบุคคลไม่ใช่แค่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูประจำชั้น แต่เป็นทุกคนที่อยู่รอบๆตัวเด็ก แต่รวมถึง หน่วยงาน เพื่อนๆ หรือครูห้องอื่นๆด้วย มิฉะนนเด็กจะไม่ได้รับการพัฒนา

        แนวทางการดูแลรักษา
            1 ด้านสุขภาพอนามัย  จะเห็นอาการของเด็กทันทีตั้งแต่เกิด ดูจากหน้าตา เช่นหน้าแบนจมูกแบน  เส้นลายมือตัดขวางและนิ้วก้อยโค้งงอ

            2 การส่งเสริมพัฒนาการ  ต้องส่งเสริมให้ครบทั้ง4ด้าน ครูต้องให้คำแนะนำกับผู้ปกครองให้เป็น ในเรื่องของความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการ วิธีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อให้มีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กทั่วไป

            3 การดำรงชีวิตประจำวัน ฝึกให้เด็กได้ช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด เพื่อสามารถช่วยเหลือตนเองและ ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้

           4 การฟื้นฟูสมรรถภาพ  การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล 1แผน/1คน (Individualized Education Program : IEP)  สำหรับเด็กปกติก สอน1แผนก็จบ  แต่สำหรับเด็กพิเศษ IEP เป็นแผนระยะยาว เด็ก1คน/1แผน เด็ก3คนอยู่ในกลุ่มอาการเดียวกันก็3แผน ใช้ไปเลยทั้งเทอมหรือบางแผนใช้ถึงปี ต้องวางแผนทั้งเทอมหรือทั้งปี

       การปฏิบัติของบิดา มารดา  
           สิ่งแรกคือต้องยอมรับความจริง เด็กดาวน์จะมีพัฒนาการตามลำดับขั้นเหมือนเด็กปกติแต่จะช้ากว่า  อาจทำได้ไม่ดีเท่าเด็กปกติต้องใช้ระยะเวลานานมาก
           เด็กผู้หญิงต้องพาไปตรวจมะเร็งปากมดลูกกับเต้านม ในช่วงประมาณชนมัธยม เนื่องจากโครโมโซมผิดปกติทำให้ภูมิคุ้มกันไม่เหมือนกบเด็กปกติ
           ต้องสอนเรื่องเพศศึกษา เนื่องจากภัยทางสังคมเยอะ ยิ่งเด็กดาวน์จะเป็นคนโลกสวยว่าไงก็ว่าตาม ป้องกันตัวเองไม่เป็น เราต้องสอนมากๆ ยิ่งเวลาเด็กมาประจำเดือน การเข้าน้ำต้องวางตัวยังไง ต้องสอนทุกอย่าง สอนเด็กเข้าห้องน้ำโดยการ "แยกงาน"  แรกๆต้องพาเด็กไปก่อน อาจพาเด็กไปคนเดียวหรือให้เพื่อนไปด้วย สอนเด็กครั้งเดียวไม่ได้ต้องทุกวันสอนทุกครั้งที่เด็กเข้าก็ยิ่งดี

ประเภทที่2 Autistic

       แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
            1 ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว ไม่ใช่หน้าที่ใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของทุกคน คล้ายกับเด็กดาวน์คือองค์รวมเหมือนกัน ในห้องไม่ใช่แค่ครูประจำชั้นที่ต้องดูแล แต่รวมถึงครูทุกคนในชั้นอื่น  ทุกคนช่วยกันดูแลเป็นพิเศษต้องหูตาไวมากๆ

            2 ส่งเสริมความสามารถเด็ก  ไม่มุ่งเน้นแก้ไขเฉพาะความบกพร่องเพียงด้านเดียว แต่มุ่งส่งสริมความสามารถที่เด็กมีควบคู่ไปด้วย เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำบ่อยๆ เพราะเด็กออทิสติกจะมีพฤติกรรมซ้ำๆ การส่งเสริมต้องเป็นกิจกรรมที่หลากหลาย ห้ามทำกิจกรรมเดิมๆต้องเปลี่ยนบ่อยๆ เพื่อลดพฤติกรรมซ้ำๆ

            3 พฤติกรรมบำบัด ใช้พื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น แบนดูลา เด็กจะมีการเลียนแบบ เลียนแบบจากครู ผู้ปกครอง

            4 การส่งเสริมพัฒนาการ  ยึดหลักและลำดับขั้นพัฒนาการของเด็กปกติ  เพราะเด็กออทิศติกทำได้ทุกอย่างเหมือนเด็กปกติ แต่จะดื้อ ไม่ยอมฟัง โลกส่วนตวสูง ถ้าสิ่งไหนไม่ชอบก็จะไม่ทำ

            5 การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ สิ่งที่ครูสามารถทำได้คือ การสื่อความหมายทดแทน แต่สามารถใช้ได้ในช่วงระยะหนึ่งเท่านั้น

            6 การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา โดยการใชแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล เกิดผลในระยะยาว โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนานโดยเด็กพิเศษกลุ่มหนึ่งเด็กปกติกลุ่มหนึ่งเรียนร่วมกัน จำนวนอัตราส่วนเด็กพิเศษกับครู3/5 เพื่อให้เด็กปกติช่วยเด็กพิเศษด้วย เรียนโดยการจับกลุ่มระบบบัดดี้

            7 การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม  การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กได้ช่วยเหลือตัวเองได้

            8 การรักษาด้วยยา เด็กจะไม่หายเป็นตลอดชีวิต ยาจึงรักษาไม่ได้สามารถบรรเทาอาการได้ เพื่อลดพฤติกรรมไม่มีสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น

            9 การบำบัดทางเลือก โดยใช้การสื่อความหมายทดแทน ศิลปกรรมบำบัด ดนตรีบำบัด การฝังเข็ม(ไม่น่าเป็นไปได้ เป็นความเชื่อส่วนบุคคล)  การบำบัดด้วยสัตว์ เป็นการบำบัดโดยการใช้สัตว์ เช่น แมว กระต่าย ม้า

โครงการอาชาบำบัด โดยการม้าในการบำบัดเด็กออทิศติก





              การสื่อความหมายทดแทน

 โดยใชโปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System : PECS )



Picture Exchange Communication System : PECS



คำศัพท์น่ารู้

       Holistic Approach       การดูแลแบบองค์รวม

       Individualized Education Program : IEP        แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล


       Augmentative and Alternative Communication : AAC       การสื่อความหมายทดแทน


       Speech Therapy       การแก้ไขการพูด


       Occupation Therapy       กิจกรรมบำบัด


       Activity of Daily Living Training       การฝึกฝนในชีวิตประจำวัน


       Social Skill Training        การฝึกฝนทักษะทางสังคม


       Social Story       การสอนเรื่องราวทางสังคม


       Art Therapy        ศิลปกรรมบำบัด


       Music Therapy       ดนตรีบำบัด


       Acupuncture       การฝังเข็ม


       Animal Therapy       การบำบัดด้วยสัตว์


       Picture Exchange Communication System : PECS      โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร

       Visual Strategies       การรับรู้ผ่านการมอง


       Communication Devices      เครื่องโอภา 



เทคนิคต่างๆที่สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต

           การจัดมุมหนังสือหรือของเล่นในห้อง  ควรเปลี่ยนบ่อยๆ บางครั้งหนังสือหรือของเล่นมีน้อย เนื่องจากมีงบไม่พอ เราควรจัดเป็นชุด เช่น ชุดที่1 ชุดที่2 ชุดที่3    สัปดาห์แรกใช้ชุดที่1   สัปดาห์ที่2ใช้ชุดที่2   สัปดาห์ที่3ใช้ชุดที่3 พอหมดก็เวียนมาใช้ใหม่ เพื่อลดพฤติกรรมซ้ำๆของเด็ก

           สอนเด็กเรื่องการล้างมือ ฝึกให้เด็กทำซ้ำๆเรื่องเดิมๆเรื่อยๆและบ่อยๆ ล้างมือตอนเช้า เที่ยง เย็น ทำซ้ำเป็นความเคยชิน อย่าใจร้อน อย่าคาดหวังว่าสอนแค่ึครั้งเดียวแล้วเด็กจะทำได้
 
           สอนเด็ดเรื่องการเข้าห้องน้ำ "ต้องแยกงาน" ครั้งแรกพาเด็กไปก่อนอาจพาคนเดียวหรือพาเพื่อนไปด้วย สอนแค่ครั้งเดียวไม่ได้ ต้องสอนทุกวันและทุกครั้งที่เด็กเข้าห้องน้ำก็ยิ่งดี


การประเมินผล

ประเมินตนเอง

           คาบนี้เครียดมากไม่ค่อยมีสมาธิ เนื่องจากมัวแต่กังวลกับวิชาอื่น  แต่ก็พยายามตั้งใจเรียนและจดหัวข้อสำคัญและจำเทคนิคต่างๆ และต้องกลับไปทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนมาในคาบนี้ และพยายามกลับไปอ่านคำศัพท์เยอะๆ เพื่อจะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดในการสอบครั้งต่อไปค่ะ

ประเมินเพื่อน

           เชื่อว่าเพื่อนๆคนอื่นคงจะเครียดไม่ต่างอะไรกับหนู แต่เพื่อนทุกคนก็ตั้งใจเรียนและพยายามจดเนื้อหาที่อาจารย์สอน มีส่วนน้อยมากที่ยังคุยและเล่นโทรศัพท์

ประเมินอาจารย์

            อาจารย์สอนเข้าใจและมีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย มีการยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เคยเจอ และมีการนำวิดีโอมาประกอบเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้น เช่น การบำบัดด้วยสัตว์ "โครงการอาชาบำบัด"  สิ่งที่หนูประทับใจอาจารย์เบียร์มากที่สุดคือ เวลาอาจารย์สอนทำให้หนูหายเครียดและรู้สึกอบอุ่น อาจารย์ไม่ใช่แค่สอนเนื้อหาเรียนอย่างเดียว แต่อาจารย์เป็นผู้รับฟังและเป็นที่ปรึกษาที่ดี ทำให้หนูสบายใจมากขึ้นค่ะ



วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่12



บันทึกอนุทิน ครั้งที่12
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วันอังคาร ที่4 เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2557



ความรู้ที่ได้รับ

เฉลยข้อสอบกลางภาค  เพื่อนักศึกษาแต่ละคนได้เช็คว่าผิดพลาดตรง เกิดจากอะไร เพื่อที่จะได้ทบทวนใหม่

คำถามที่ตอบผิด ต้องทบทวนใหม่

       ข้อที่2  เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษตรงกับประโยชน์ใดในภาษาอังกฤษ
ตอบ Early Childhood with Special Needs

       ข้อที่ 10 โรคไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ ในกรณีที่เด็กเป็นมาตั้งแต่กำเนิดจะไม่ได้รับการรักษาก่อนอายุ2-3 เดือน จะส่งผลกระทบต่อเด็กอย่างไร
ตอบ  มีสติปัญญาต่ำกว่าเด็กปกติถาวร

       ข้อที่13 ข้อใดคือข้อมูลที่สามารถทราบได้หลังจากการซักประวัติเด็กที่มีความบกพร่อง
ตอบ ถูกทุกข้อ

       ข้อที่19 เด็กที่จัดอยู่ในกลุ่ม E.M.R. หมายถึงเด็กที่มีลักษณธอย่างไร
ตอบ เด็กทีสามารถเรียนในระดับประถมได้

       ข้อที่20 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องกับอาการดาวน์ซินโดรม
ตอบ ระดับสติปัญญา IQ ไม่แตกต่างจากเด็กปกติ

       ข้อที่24 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
ตอบ เด็กหูตึงมีปัญหาในการพูด เช่น พูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน บางคนไม่พูด

       ข้อที่26 เด็ดตาบอดที่มีความสามารถในการมองเห็น 6/60 หมายความว่าอย่างไร
ตอบ ระยะ 6m มีเด็กตาบอด ยืนเพื่ออ่านสัญลักษณ์ แต่เด็กปกติสามารถอ่านได้ในระยะ 60 m

        ข้อที่28 Alexia หมายถึง เด็กที่มีอาการของความผิดปกติทางการพูดและภาษาอย่างไร
ตอบ อ่านไม่ออก

        ข้อที่ 31  โรคลมชัก (Epilepsy)  เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องจากสาเหตุใด
ตอบ  ความผิดปกติของระบบสมอง

       ข้อที่35 การเป็นอัมพาตเหนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลาย เป็นอาการของโรคใด
ตอบ Cerebral Palsy

       ข้อที่ 38 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะอาการของ Athetoicl ในเด็กที่มีอาการสมองพิการ
ตอบ มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน

       ข้อที่39 ข้อใดคือ ความพิการซ้อนที่เกิดขึ้นในระยะหลังของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ตอบ สติปัญญาเสื่อม

        ข้อที่44 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (L.D.) 
ตอบ มีระดับสติปัญญาปกติ

       ข้อที่49 ออทิศติกที่มีความสามารถเฉพาะทางที่พิเศษจนเรียกได้ว่าเข้าขั้นอัจฉริยะเรียกว่าอะไร
ตอบ Autistic Savant

        ข้อที่53 เด็กสมาธิสั้นสามารถใช้คำเรียกย่อๆว่าอะไร
ตอบ ADHD


การประเมินผล

ประเมินตนเอง

       วันนี้ตื่นเต้นมาก เพราะอาจารย์บอกคะแนนสอบและเฉลยคำตอบให้ ผลสอบออกมาได้42คะแนน เกินความคาดหมาย เพราะไม่แม่นภาษาอังกฤษ ขณะทำข้อสอบไม่ค่อยมีสมาธิเนื้อหาที่อ่านมามันตีกันไปหมด เมื่ออาจารย์เฉลยคำตอบ พบข้อผิดพลาดคือ ไม่แม่นจำภาษาภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ และไม่มั่นใจในคำตอบ คือตอนแรกตอนถูกแล้ว แต่ไม่มีความมั่นใจลังเลในคำตอบ เลยลบไม่ตอบข้ออื่น

ประเมินเพื่อน

       วันนี้เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนและตอบคำถาม ทุกคนตั้งใจเรียนมาก เนื่องจากมีอาจารย์เข้ามาประเมินนักศึกษาและวิธีการสอนของอาจารย์ แต่ก็ยังมีส่วนน้อยมากที่ยังคุยกันเสียงดัง เมื่ออาจารย์เฉลยคำตอบทุกคนฮา เพราะรู้ข้อผิดพลาดของตัวเอง ในห้องเรียนวันนี้เต็มไปด้วยรอยยิ้มและความสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์

       ชอบการแต่งตัวของอาจารย์มากเลยวันนี้ โดยเฉพาะแว่นน่ารักมากค่ะ เมื่อสอบครั้งหน้าอยากให้อาจารย์เฉลยข้อสอบแบบนี้อีก เพื่อที่นักศึกษาได้รู้ข้อผิดพลาดของตัวเอง ว่าทำไมถึงตอบผิดเกิดจากสาเหตุอะไร และนักศึกษาจะได้กลับไปทบทวนใหม่ค่ะ







บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่11




บันทึกอนุทิน ครั้งที่11
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วันอังคาร ที่28 เดือนตุลาคม  พ.ศ. 2557




      สอบมิดเทอม