วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่13




บันทึกอนุทิน ครั้งที่13
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วันอังคาร ที่11  เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2557





ความรู้ที่ได้รับ






       การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

       วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้เด็กได้มีการพัฒนาเต็มศักยภาพ จนสามารถช่วยตนเองได้ สามารถใช้ชีวิตและเอาตัวรอดได้ก็พอแล้ว

       เป้าหมายของการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้พัฒนาขั้นตอนจากทักษะที่ง่ายไปสู่ทักษะที่ยากขึ้น ซึ่งต่างจากเด็กปกติ คือ เด็กิเศษสอนวันนี้พรุ่งนี้ก็ต้องสอนรื่องเดิมอีกจนจบสัปดาห์ บางคน1เทอมถึงจะสำเร็จ

       ผลที่ได้จากการส่งเสริมพัฒนาการ  คือทักษะต่างๆเกิดและดีขึ้น สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเอง พร้อมที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้

     ประเภทที่1 Down's Syndrome

       จุดประสงค์ของการดูแล เพื่อให้เด็กดูแลตัวเองและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ เน้นการดูแลแบบองค์รวม พัฒนาการต้องส่งเสริมให้ครบทั้ง4ด้าน ต้องได้รับการดูแลจากทุกๆคนบุคคลไม่ใช่แค่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูประจำชั้น แต่เป็นทุกคนที่อยู่รอบๆตัวเด็ก แต่รวมถึง หน่วยงาน เพื่อนๆ หรือครูห้องอื่นๆด้วย มิฉะนนเด็กจะไม่ได้รับการพัฒนา

        แนวทางการดูแลรักษา
            1 ด้านสุขภาพอนามัย  จะเห็นอาการของเด็กทันทีตั้งแต่เกิด ดูจากหน้าตา เช่นหน้าแบนจมูกแบน  เส้นลายมือตัดขวางและนิ้วก้อยโค้งงอ

            2 การส่งเสริมพัฒนาการ  ต้องส่งเสริมให้ครบทั้ง4ด้าน ครูต้องให้คำแนะนำกับผู้ปกครองให้เป็น ในเรื่องของความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการ วิธีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อให้มีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กทั่วไป

            3 การดำรงชีวิตประจำวัน ฝึกให้เด็กได้ช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด เพื่อสามารถช่วยเหลือตนเองและ ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้

           4 การฟื้นฟูสมรรถภาพ  การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล 1แผน/1คน (Individualized Education Program : IEP)  สำหรับเด็กปกติก สอน1แผนก็จบ  แต่สำหรับเด็กพิเศษ IEP เป็นแผนระยะยาว เด็ก1คน/1แผน เด็ก3คนอยู่ในกลุ่มอาการเดียวกันก็3แผน ใช้ไปเลยทั้งเทอมหรือบางแผนใช้ถึงปี ต้องวางแผนทั้งเทอมหรือทั้งปี

       การปฏิบัติของบิดา มารดา  
           สิ่งแรกคือต้องยอมรับความจริง เด็กดาวน์จะมีพัฒนาการตามลำดับขั้นเหมือนเด็กปกติแต่จะช้ากว่า  อาจทำได้ไม่ดีเท่าเด็กปกติต้องใช้ระยะเวลานานมาก
           เด็กผู้หญิงต้องพาไปตรวจมะเร็งปากมดลูกกับเต้านม ในช่วงประมาณชนมัธยม เนื่องจากโครโมโซมผิดปกติทำให้ภูมิคุ้มกันไม่เหมือนกบเด็กปกติ
           ต้องสอนเรื่องเพศศึกษา เนื่องจากภัยทางสังคมเยอะ ยิ่งเด็กดาวน์จะเป็นคนโลกสวยว่าไงก็ว่าตาม ป้องกันตัวเองไม่เป็น เราต้องสอนมากๆ ยิ่งเวลาเด็กมาประจำเดือน การเข้าน้ำต้องวางตัวยังไง ต้องสอนทุกอย่าง สอนเด็กเข้าห้องน้ำโดยการ "แยกงาน"  แรกๆต้องพาเด็กไปก่อน อาจพาเด็กไปคนเดียวหรือให้เพื่อนไปด้วย สอนเด็กครั้งเดียวไม่ได้ต้องทุกวันสอนทุกครั้งที่เด็กเข้าก็ยิ่งดี

ประเภทที่2 Autistic

       แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
            1 ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว ไม่ใช่หน้าที่ใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของทุกคน คล้ายกับเด็กดาวน์คือองค์รวมเหมือนกัน ในห้องไม่ใช่แค่ครูประจำชั้นที่ต้องดูแล แต่รวมถึงครูทุกคนในชั้นอื่น  ทุกคนช่วยกันดูแลเป็นพิเศษต้องหูตาไวมากๆ

            2 ส่งเสริมความสามารถเด็ก  ไม่มุ่งเน้นแก้ไขเฉพาะความบกพร่องเพียงด้านเดียว แต่มุ่งส่งสริมความสามารถที่เด็กมีควบคู่ไปด้วย เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำบ่อยๆ เพราะเด็กออทิสติกจะมีพฤติกรรมซ้ำๆ การส่งเสริมต้องเป็นกิจกรรมที่หลากหลาย ห้ามทำกิจกรรมเดิมๆต้องเปลี่ยนบ่อยๆ เพื่อลดพฤติกรรมซ้ำๆ

            3 พฤติกรรมบำบัด ใช้พื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น แบนดูลา เด็กจะมีการเลียนแบบ เลียนแบบจากครู ผู้ปกครอง

            4 การส่งเสริมพัฒนาการ  ยึดหลักและลำดับขั้นพัฒนาการของเด็กปกติ  เพราะเด็กออทิศติกทำได้ทุกอย่างเหมือนเด็กปกติ แต่จะดื้อ ไม่ยอมฟัง โลกส่วนตวสูง ถ้าสิ่งไหนไม่ชอบก็จะไม่ทำ

            5 การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ สิ่งที่ครูสามารถทำได้คือ การสื่อความหมายทดแทน แต่สามารถใช้ได้ในช่วงระยะหนึ่งเท่านั้น

            6 การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา โดยการใชแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล เกิดผลในระยะยาว โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนานโดยเด็กพิเศษกลุ่มหนึ่งเด็กปกติกลุ่มหนึ่งเรียนร่วมกัน จำนวนอัตราส่วนเด็กพิเศษกับครู3/5 เพื่อให้เด็กปกติช่วยเด็กพิเศษด้วย เรียนโดยการจับกลุ่มระบบบัดดี้

            7 การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม  การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กได้ช่วยเหลือตัวเองได้

            8 การรักษาด้วยยา เด็กจะไม่หายเป็นตลอดชีวิต ยาจึงรักษาไม่ได้สามารถบรรเทาอาการได้ เพื่อลดพฤติกรรมไม่มีสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น

            9 การบำบัดทางเลือก โดยใช้การสื่อความหมายทดแทน ศิลปกรรมบำบัด ดนตรีบำบัด การฝังเข็ม(ไม่น่าเป็นไปได้ เป็นความเชื่อส่วนบุคคล)  การบำบัดด้วยสัตว์ เป็นการบำบัดโดยการใช้สัตว์ เช่น แมว กระต่าย ม้า

โครงการอาชาบำบัด โดยการม้าในการบำบัดเด็กออทิศติก





              การสื่อความหมายทดแทน

 โดยใชโปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System : PECS )



Picture Exchange Communication System : PECS



คำศัพท์น่ารู้

       Holistic Approach       การดูแลแบบองค์รวม

       Individualized Education Program : IEP        แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล


       Augmentative and Alternative Communication : AAC       การสื่อความหมายทดแทน


       Speech Therapy       การแก้ไขการพูด


       Occupation Therapy       กิจกรรมบำบัด


       Activity of Daily Living Training       การฝึกฝนในชีวิตประจำวัน


       Social Skill Training        การฝึกฝนทักษะทางสังคม


       Social Story       การสอนเรื่องราวทางสังคม


       Art Therapy        ศิลปกรรมบำบัด


       Music Therapy       ดนตรีบำบัด


       Acupuncture       การฝังเข็ม


       Animal Therapy       การบำบัดด้วยสัตว์


       Picture Exchange Communication System : PECS      โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร

       Visual Strategies       การรับรู้ผ่านการมอง


       Communication Devices      เครื่องโอภา 



เทคนิคต่างๆที่สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต

           การจัดมุมหนังสือหรือของเล่นในห้อง  ควรเปลี่ยนบ่อยๆ บางครั้งหนังสือหรือของเล่นมีน้อย เนื่องจากมีงบไม่พอ เราควรจัดเป็นชุด เช่น ชุดที่1 ชุดที่2 ชุดที่3    สัปดาห์แรกใช้ชุดที่1   สัปดาห์ที่2ใช้ชุดที่2   สัปดาห์ที่3ใช้ชุดที่3 พอหมดก็เวียนมาใช้ใหม่ เพื่อลดพฤติกรรมซ้ำๆของเด็ก

           สอนเด็กเรื่องการล้างมือ ฝึกให้เด็กทำซ้ำๆเรื่องเดิมๆเรื่อยๆและบ่อยๆ ล้างมือตอนเช้า เที่ยง เย็น ทำซ้ำเป็นความเคยชิน อย่าใจร้อน อย่าคาดหวังว่าสอนแค่ึครั้งเดียวแล้วเด็กจะทำได้
 
           สอนเด็ดเรื่องการเข้าห้องน้ำ "ต้องแยกงาน" ครั้งแรกพาเด็กไปก่อนอาจพาคนเดียวหรือพาเพื่อนไปด้วย สอนแค่ครั้งเดียวไม่ได้ ต้องสอนทุกวันและทุกครั้งที่เด็กเข้าห้องน้ำก็ยิ่งดี


การประเมินผล

ประเมินตนเอง

           คาบนี้เครียดมากไม่ค่อยมีสมาธิ เนื่องจากมัวแต่กังวลกับวิชาอื่น  แต่ก็พยายามตั้งใจเรียนและจดหัวข้อสำคัญและจำเทคนิคต่างๆ และต้องกลับไปทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนมาในคาบนี้ และพยายามกลับไปอ่านคำศัพท์เยอะๆ เพื่อจะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดในการสอบครั้งต่อไปค่ะ

ประเมินเพื่อน

           เชื่อว่าเพื่อนๆคนอื่นคงจะเครียดไม่ต่างอะไรกับหนู แต่เพื่อนทุกคนก็ตั้งใจเรียนและพยายามจดเนื้อหาที่อาจารย์สอน มีส่วนน้อยมากที่ยังคุยและเล่นโทรศัพท์

ประเมินอาจารย์

            อาจารย์สอนเข้าใจและมีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย มีการยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เคยเจอ และมีการนำวิดีโอมาประกอบเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้น เช่น การบำบัดด้วยสัตว์ "โครงการอาชาบำบัด"  สิ่งที่หนูประทับใจอาจารย์เบียร์มากที่สุดคือ เวลาอาจารย์สอนทำให้หนูหายเครียดและรู้สึกอบอุ่น อาจารย์ไม่ใช่แค่สอนเนื้อหาเรียนอย่างเดียว แต่อาจารย์เป็นผู้รับฟังและเป็นที่ปรึกษาที่ดี ทำให้หนูสบายใจมากขึ้นค่ะ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น