วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่13




บันทึกอนุทิน ครั้งที่13
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วันอังคาร ที่11  เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2557





ความรู้ที่ได้รับ






       การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

       วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้เด็กได้มีการพัฒนาเต็มศักยภาพ จนสามารถช่วยตนเองได้ สามารถใช้ชีวิตและเอาตัวรอดได้ก็พอแล้ว

       เป้าหมายของการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้พัฒนาขั้นตอนจากทักษะที่ง่ายไปสู่ทักษะที่ยากขึ้น ซึ่งต่างจากเด็กปกติ คือ เด็กิเศษสอนวันนี้พรุ่งนี้ก็ต้องสอนรื่องเดิมอีกจนจบสัปดาห์ บางคน1เทอมถึงจะสำเร็จ

       ผลที่ได้จากการส่งเสริมพัฒนาการ  คือทักษะต่างๆเกิดและดีขึ้น สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเอง พร้อมที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้

     ประเภทที่1 Down's Syndrome

       จุดประสงค์ของการดูแล เพื่อให้เด็กดูแลตัวเองและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ เน้นการดูแลแบบองค์รวม พัฒนาการต้องส่งเสริมให้ครบทั้ง4ด้าน ต้องได้รับการดูแลจากทุกๆคนบุคคลไม่ใช่แค่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูประจำชั้น แต่เป็นทุกคนที่อยู่รอบๆตัวเด็ก แต่รวมถึง หน่วยงาน เพื่อนๆ หรือครูห้องอื่นๆด้วย มิฉะนนเด็กจะไม่ได้รับการพัฒนา

        แนวทางการดูแลรักษา
            1 ด้านสุขภาพอนามัย  จะเห็นอาการของเด็กทันทีตั้งแต่เกิด ดูจากหน้าตา เช่นหน้าแบนจมูกแบน  เส้นลายมือตัดขวางและนิ้วก้อยโค้งงอ

            2 การส่งเสริมพัฒนาการ  ต้องส่งเสริมให้ครบทั้ง4ด้าน ครูต้องให้คำแนะนำกับผู้ปกครองให้เป็น ในเรื่องของความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการ วิธีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อให้มีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กทั่วไป

            3 การดำรงชีวิตประจำวัน ฝึกให้เด็กได้ช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด เพื่อสามารถช่วยเหลือตนเองและ ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้

           4 การฟื้นฟูสมรรถภาพ  การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล 1แผน/1คน (Individualized Education Program : IEP)  สำหรับเด็กปกติก สอน1แผนก็จบ  แต่สำหรับเด็กพิเศษ IEP เป็นแผนระยะยาว เด็ก1คน/1แผน เด็ก3คนอยู่ในกลุ่มอาการเดียวกันก็3แผน ใช้ไปเลยทั้งเทอมหรือบางแผนใช้ถึงปี ต้องวางแผนทั้งเทอมหรือทั้งปี

       การปฏิบัติของบิดา มารดา  
           สิ่งแรกคือต้องยอมรับความจริง เด็กดาวน์จะมีพัฒนาการตามลำดับขั้นเหมือนเด็กปกติแต่จะช้ากว่า  อาจทำได้ไม่ดีเท่าเด็กปกติต้องใช้ระยะเวลานานมาก
           เด็กผู้หญิงต้องพาไปตรวจมะเร็งปากมดลูกกับเต้านม ในช่วงประมาณชนมัธยม เนื่องจากโครโมโซมผิดปกติทำให้ภูมิคุ้มกันไม่เหมือนกบเด็กปกติ
           ต้องสอนเรื่องเพศศึกษา เนื่องจากภัยทางสังคมเยอะ ยิ่งเด็กดาวน์จะเป็นคนโลกสวยว่าไงก็ว่าตาม ป้องกันตัวเองไม่เป็น เราต้องสอนมากๆ ยิ่งเวลาเด็กมาประจำเดือน การเข้าน้ำต้องวางตัวยังไง ต้องสอนทุกอย่าง สอนเด็กเข้าห้องน้ำโดยการ "แยกงาน"  แรกๆต้องพาเด็กไปก่อน อาจพาเด็กไปคนเดียวหรือให้เพื่อนไปด้วย สอนเด็กครั้งเดียวไม่ได้ต้องทุกวันสอนทุกครั้งที่เด็กเข้าก็ยิ่งดี

ประเภทที่2 Autistic

       แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
            1 ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว ไม่ใช่หน้าที่ใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของทุกคน คล้ายกับเด็กดาวน์คือองค์รวมเหมือนกัน ในห้องไม่ใช่แค่ครูประจำชั้นที่ต้องดูแล แต่รวมถึงครูทุกคนในชั้นอื่น  ทุกคนช่วยกันดูแลเป็นพิเศษต้องหูตาไวมากๆ

            2 ส่งเสริมความสามารถเด็ก  ไม่มุ่งเน้นแก้ไขเฉพาะความบกพร่องเพียงด้านเดียว แต่มุ่งส่งสริมความสามารถที่เด็กมีควบคู่ไปด้วย เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำบ่อยๆ เพราะเด็กออทิสติกจะมีพฤติกรรมซ้ำๆ การส่งเสริมต้องเป็นกิจกรรมที่หลากหลาย ห้ามทำกิจกรรมเดิมๆต้องเปลี่ยนบ่อยๆ เพื่อลดพฤติกรรมซ้ำๆ

            3 พฤติกรรมบำบัด ใช้พื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น แบนดูลา เด็กจะมีการเลียนแบบ เลียนแบบจากครู ผู้ปกครอง

            4 การส่งเสริมพัฒนาการ  ยึดหลักและลำดับขั้นพัฒนาการของเด็กปกติ  เพราะเด็กออทิศติกทำได้ทุกอย่างเหมือนเด็กปกติ แต่จะดื้อ ไม่ยอมฟัง โลกส่วนตวสูง ถ้าสิ่งไหนไม่ชอบก็จะไม่ทำ

            5 การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ สิ่งที่ครูสามารถทำได้คือ การสื่อความหมายทดแทน แต่สามารถใช้ได้ในช่วงระยะหนึ่งเท่านั้น

            6 การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา โดยการใชแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล เกิดผลในระยะยาว โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนานโดยเด็กพิเศษกลุ่มหนึ่งเด็กปกติกลุ่มหนึ่งเรียนร่วมกัน จำนวนอัตราส่วนเด็กพิเศษกับครู3/5 เพื่อให้เด็กปกติช่วยเด็กพิเศษด้วย เรียนโดยการจับกลุ่มระบบบัดดี้

            7 การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม  การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กได้ช่วยเหลือตัวเองได้

            8 การรักษาด้วยยา เด็กจะไม่หายเป็นตลอดชีวิต ยาจึงรักษาไม่ได้สามารถบรรเทาอาการได้ เพื่อลดพฤติกรรมไม่มีสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น

            9 การบำบัดทางเลือก โดยใช้การสื่อความหมายทดแทน ศิลปกรรมบำบัด ดนตรีบำบัด การฝังเข็ม(ไม่น่าเป็นไปได้ เป็นความเชื่อส่วนบุคคล)  การบำบัดด้วยสัตว์ เป็นการบำบัดโดยการใช้สัตว์ เช่น แมว กระต่าย ม้า

โครงการอาชาบำบัด โดยการม้าในการบำบัดเด็กออทิศติก





              การสื่อความหมายทดแทน

 โดยใชโปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System : PECS )



Picture Exchange Communication System : PECS



คำศัพท์น่ารู้

       Holistic Approach       การดูแลแบบองค์รวม

       Individualized Education Program : IEP        แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล


       Augmentative and Alternative Communication : AAC       การสื่อความหมายทดแทน


       Speech Therapy       การแก้ไขการพูด


       Occupation Therapy       กิจกรรมบำบัด


       Activity of Daily Living Training       การฝึกฝนในชีวิตประจำวัน


       Social Skill Training        การฝึกฝนทักษะทางสังคม


       Social Story       การสอนเรื่องราวทางสังคม


       Art Therapy        ศิลปกรรมบำบัด


       Music Therapy       ดนตรีบำบัด


       Acupuncture       การฝังเข็ม


       Animal Therapy       การบำบัดด้วยสัตว์


       Picture Exchange Communication System : PECS      โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร

       Visual Strategies       การรับรู้ผ่านการมอง


       Communication Devices      เครื่องโอภา 



เทคนิคต่างๆที่สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต

           การจัดมุมหนังสือหรือของเล่นในห้อง  ควรเปลี่ยนบ่อยๆ บางครั้งหนังสือหรือของเล่นมีน้อย เนื่องจากมีงบไม่พอ เราควรจัดเป็นชุด เช่น ชุดที่1 ชุดที่2 ชุดที่3    สัปดาห์แรกใช้ชุดที่1   สัปดาห์ที่2ใช้ชุดที่2   สัปดาห์ที่3ใช้ชุดที่3 พอหมดก็เวียนมาใช้ใหม่ เพื่อลดพฤติกรรมซ้ำๆของเด็ก

           สอนเด็กเรื่องการล้างมือ ฝึกให้เด็กทำซ้ำๆเรื่องเดิมๆเรื่อยๆและบ่อยๆ ล้างมือตอนเช้า เที่ยง เย็น ทำซ้ำเป็นความเคยชิน อย่าใจร้อน อย่าคาดหวังว่าสอนแค่ึครั้งเดียวแล้วเด็กจะทำได้
 
           สอนเด็ดเรื่องการเข้าห้องน้ำ "ต้องแยกงาน" ครั้งแรกพาเด็กไปก่อนอาจพาคนเดียวหรือพาเพื่อนไปด้วย สอนแค่ครั้งเดียวไม่ได้ ต้องสอนทุกวันและทุกครั้งที่เด็กเข้าห้องน้ำก็ยิ่งดี


การประเมินผล

ประเมินตนเอง

           คาบนี้เครียดมากไม่ค่อยมีสมาธิ เนื่องจากมัวแต่กังวลกับวิชาอื่น  แต่ก็พยายามตั้งใจเรียนและจดหัวข้อสำคัญและจำเทคนิคต่างๆ และต้องกลับไปทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนมาในคาบนี้ และพยายามกลับไปอ่านคำศัพท์เยอะๆ เพื่อจะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดในการสอบครั้งต่อไปค่ะ

ประเมินเพื่อน

           เชื่อว่าเพื่อนๆคนอื่นคงจะเครียดไม่ต่างอะไรกับหนู แต่เพื่อนทุกคนก็ตั้งใจเรียนและพยายามจดเนื้อหาที่อาจารย์สอน มีส่วนน้อยมากที่ยังคุยและเล่นโทรศัพท์

ประเมินอาจารย์

            อาจารย์สอนเข้าใจและมีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย มีการยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เคยเจอ และมีการนำวิดีโอมาประกอบเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้น เช่น การบำบัดด้วยสัตว์ "โครงการอาชาบำบัด"  สิ่งที่หนูประทับใจอาจารย์เบียร์มากที่สุดคือ เวลาอาจารย์สอนทำให้หนูหายเครียดและรู้สึกอบอุ่น อาจารย์ไม่ใช่แค่สอนเนื้อหาเรียนอย่างเดียว แต่อาจารย์เป็นผู้รับฟังและเป็นที่ปรึกษาที่ดี ทำให้หนูสบายใจมากขึ้นค่ะ



วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่12



บันทึกอนุทิน ครั้งที่12
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วันอังคาร ที่4 เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2557



ความรู้ที่ได้รับ

เฉลยข้อสอบกลางภาค  เพื่อนักศึกษาแต่ละคนได้เช็คว่าผิดพลาดตรง เกิดจากอะไร เพื่อที่จะได้ทบทวนใหม่

คำถามที่ตอบผิด ต้องทบทวนใหม่

       ข้อที่2  เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษตรงกับประโยชน์ใดในภาษาอังกฤษ
ตอบ Early Childhood with Special Needs

       ข้อที่ 10 โรคไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ ในกรณีที่เด็กเป็นมาตั้งแต่กำเนิดจะไม่ได้รับการรักษาก่อนอายุ2-3 เดือน จะส่งผลกระทบต่อเด็กอย่างไร
ตอบ  มีสติปัญญาต่ำกว่าเด็กปกติถาวร

       ข้อที่13 ข้อใดคือข้อมูลที่สามารถทราบได้หลังจากการซักประวัติเด็กที่มีความบกพร่อง
ตอบ ถูกทุกข้อ

       ข้อที่19 เด็กที่จัดอยู่ในกลุ่ม E.M.R. หมายถึงเด็กที่มีลักษณธอย่างไร
ตอบ เด็กทีสามารถเรียนในระดับประถมได้

       ข้อที่20 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องกับอาการดาวน์ซินโดรม
ตอบ ระดับสติปัญญา IQ ไม่แตกต่างจากเด็กปกติ

       ข้อที่24 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
ตอบ เด็กหูตึงมีปัญหาในการพูด เช่น พูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน บางคนไม่พูด

       ข้อที่26 เด็ดตาบอดที่มีความสามารถในการมองเห็น 6/60 หมายความว่าอย่างไร
ตอบ ระยะ 6m มีเด็กตาบอด ยืนเพื่ออ่านสัญลักษณ์ แต่เด็กปกติสามารถอ่านได้ในระยะ 60 m

        ข้อที่28 Alexia หมายถึง เด็กที่มีอาการของความผิดปกติทางการพูดและภาษาอย่างไร
ตอบ อ่านไม่ออก

        ข้อที่ 31  โรคลมชัก (Epilepsy)  เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องจากสาเหตุใด
ตอบ  ความผิดปกติของระบบสมอง

       ข้อที่35 การเป็นอัมพาตเหนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลาย เป็นอาการของโรคใด
ตอบ Cerebral Palsy

       ข้อที่ 38 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะอาการของ Athetoicl ในเด็กที่มีอาการสมองพิการ
ตอบ มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน

       ข้อที่39 ข้อใดคือ ความพิการซ้อนที่เกิดขึ้นในระยะหลังของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ตอบ สติปัญญาเสื่อม

        ข้อที่44 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (L.D.) 
ตอบ มีระดับสติปัญญาปกติ

       ข้อที่49 ออทิศติกที่มีความสามารถเฉพาะทางที่พิเศษจนเรียกได้ว่าเข้าขั้นอัจฉริยะเรียกว่าอะไร
ตอบ Autistic Savant

        ข้อที่53 เด็กสมาธิสั้นสามารถใช้คำเรียกย่อๆว่าอะไร
ตอบ ADHD


การประเมินผล

ประเมินตนเอง

       วันนี้ตื่นเต้นมาก เพราะอาจารย์บอกคะแนนสอบและเฉลยคำตอบให้ ผลสอบออกมาได้42คะแนน เกินความคาดหมาย เพราะไม่แม่นภาษาอังกฤษ ขณะทำข้อสอบไม่ค่อยมีสมาธิเนื้อหาที่อ่านมามันตีกันไปหมด เมื่ออาจารย์เฉลยคำตอบ พบข้อผิดพลาดคือ ไม่แม่นจำภาษาภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ และไม่มั่นใจในคำตอบ คือตอนแรกตอนถูกแล้ว แต่ไม่มีความมั่นใจลังเลในคำตอบ เลยลบไม่ตอบข้ออื่น

ประเมินเพื่อน

       วันนี้เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนและตอบคำถาม ทุกคนตั้งใจเรียนมาก เนื่องจากมีอาจารย์เข้ามาประเมินนักศึกษาและวิธีการสอนของอาจารย์ แต่ก็ยังมีส่วนน้อยมากที่ยังคุยกันเสียงดัง เมื่ออาจารย์เฉลยคำตอบทุกคนฮา เพราะรู้ข้อผิดพลาดของตัวเอง ในห้องเรียนวันนี้เต็มไปด้วยรอยยิ้มและความสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์

       ชอบการแต่งตัวของอาจารย์มากเลยวันนี้ โดยเฉพาะแว่นน่ารักมากค่ะ เมื่อสอบครั้งหน้าอยากให้อาจารย์เฉลยข้อสอบแบบนี้อีก เพื่อที่นักศึกษาได้รู้ข้อผิดพลาดของตัวเอง ว่าทำไมถึงตอบผิดเกิดจากสาเหตุอะไร และนักศึกษาจะได้กลับไปทบทวนใหม่ค่ะ







บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่11




บันทึกอนุทิน ครั้งที่11
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วันอังคาร ที่28 เดือนตุลาคม  พ.ศ. 2557




      สอบมิดเทอม







บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่10



บันทึกอนุทิน ครั้งที่10
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วันอังคาร ที่21 เดือนตุลาคม  พ.ศ. 2557



ความรู้ที่ได้รับ






        เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
มีความรู้สึกนึกคิดไปจากเดิมคิดไม่เหมือนชาวบ้าน ชอบทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น อันตรายมากจะควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตนองไม่ได้ ซึ่งต่างจากเด็กออทิศติก

      ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
เด็กจะมีความวิตกกังวล มีนิสัยขี้กลัว ระแวง ช่างสงสัยช่างมโน  และจะมีภาวะซึมเศร้า บางคนซึมเป็นเดือน เป็นอาทิตย์ ไม่สนใจคนอื่น แต่เมื่อมีคนทักก็จะได้ยิน ซึ่งอันตรายต่อตัวเด็กมาก

      การจำแนกเด็กตามกลุ่มอาการ
             1) ด้านความปะพฤติ  
  -ชอบทำร้ายผู้อื่นและสิ่งของ ไม่พอใจจับเขวี้ยง ฉีกทิ้ง
  -ฉุนเฉียว หุนหันพันแล่น และเกรี้ยวกราด
  -ชอบโกหกโทษผู้อื่น กลัวความผิด
  -หมกหมุ่นในอารมณ์ทางเพศ เพราะไม่รู้จักวิธีการระบาย
            2) ด้านความตั้งใจและสมาธิ
   จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น อาจจะไม่ถึง20 วินาที และสามารถถูกสิ่งต่างๆรอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
            3) สมาธิสั้น
   กระวนกระวายอยู่ไม่นิ่งขยับไปมา ชอบโม้เรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้าง 
            4) การถอนตัวหรือล้มเลิก 
   ขาดความมั่นใจ ขี้อาย รู้สึกเหมือนตัวเองด้อย จึงหลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
           5) ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย
  -ผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน 
  -การอาเจียนโยการสมัครใจ เพื่อเป็นการป้องกันตนเองจะพบเยอะมาก
           6) ภาวะบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
   ขาดเหตุผลในการคิด อาการหลงผิด จะมีอาการประสาทหลอนและมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง จะไม่ค่อยพบกับเด็ก ส่วนมากจะพบกับผู้ใหญ่

       เด็กสมาธิสัน ADHD มี 3ลักษณะ
           1) Inattentiveness  สมาธิไม่ดี ขาดสมาธิ ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก
           2) Hyperactivity  ซนอยู่ไม่นิ่ง เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
           3) Impulsiveness หุนหันพันแล่น ไม่อดทนต่อการรอคอย รอไม่เป็นไม่อยู่ในกติกา

       สมาธิสั้นไม่ได้เกิดจากการอบรมเลี้ยงดู แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก ต่อให้เลี้ยงดูดีแค่ไหน ถ้าเด็กมีสมาธิสั้นเด็กก็เป็น ไม่ใช่ความผิดของพ่อแม่


คำศัพท์น่ารู้

  Children with Behavioral and Emotional Disorders    เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

  Anxiety    ความวิตกกังวน                               Depression  ภาวะซึมเศร้า

  Attention Deficit  สมาธิสั้น                            Withdrawal  การถอนตัวหริอล้มเลิก

  Eating Disorder  ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน           

  Voluntary Regurgitation  การอาเจียนโดยสมัครใจ     

  Elimination Disorder   ความผิดปกติของการขับถ่าย

  Delusion   อาการหลงผิด                              Hallucination   อาการประสาทหลอน

  Biology  ปัจจัยทางชีวภาพ                            Psychosocial  ปัจจัยทางจิตสังคม

  Inattentiveness  สมาธิสั้น                            Hyperactivity   ซนอยู่ไม่นิ่ง

  Impulsiveness   หุนหันพลันแล่น                   Obesity   โรคอ้วน



การประเมินผล 

ประมินตนเอง 

        ตั้งใจเวลาอาจารย์อธิบายและพยายามจดในสิ่งที่สำคัญๆ ที่อาจารย์เน้น เพื่อจะได้นำไปทบทวนและทำความเข้าใจให้มากกว่านี้ เมื่อถึงเวลาไปเจอกับเด็กจริงๆ เราได้นำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

ประเมินเพื่อน

       เพื่อนส่วนมาก ตั้งใจเรียนจดในสิ่งที่อาจารย์อธิบาย แต่มีเพื่อนบางคนยังไม่ค่อยตั้งใจสักเท่าไหร่ บางคนนั่งเล่นเกมเศรษฐี บ่างคนก็คุยเสียงดัง ทำให้รบกวนสมาธิเพื่อน

ประเมินอาจารย์

       อาจารย์สอนสนุก ใจดี สอนเข้าใจ มีการยกตัวอย่างจนเห็นภาพ  บางครั้งอยากให้อาจารย์อาจารย์ดุบ้าง เป็นบางกรณี เพราะเพื่อนๆบางคน เห็นว่าอาจารย์ใจดี ไม่บ่น เพื่อนได้ใจ เลยนั่งโม้ไม่ค่อยตั้งใจเรียน 


   



   

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่9



บันทึกอนุทิน ครั้งที่9
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วันอังคาร ที่14 เดือนตุลาคม  พ.ศ. 2557



ความรู้ที่ด้รับ






     เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้  L.D. (Learning Disability)
            เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะด้าน เฉพาะอย่าง เป็นโรคที่ค่อนข้างประหลาด ด้านร่างการยจะปกติทุกอย่าง ไม่มีปัญหาแม้แต่น้อย แต่ขาดความสามารถในการเรียนรู้

     สาเหตุ   ยังบอกชัดเจนไม่ได้ว่าเกิดจากอะไร อาจจะเกิดจากสมองแปรผลไม่เป็น ส่วนพันธุกรรมจะพบน้อยมาก

     L.D. แบ่งออกเป็น 4ด้าน 

            1) ด้านการอ่าน   จะเป็นมากที่สุด อ่านหนังสือไม่ออก สะกดคำไม่เป็น อ่านผิดอ่านถูก อ่านไปเดาคำไป ชอบชี้นิ้วเวลาอ่าน อ่านจะไม่ออกเสียง แต่พูดสนทนาทั่วไปได้ เด็กมักเกิดอาการเครียดกลัวสงสัย แต่ไม่กล้าถาม เพราะถูกกดดันจากพ่อแม่ จนกลายเป็นปม

            2) ด้านการเขียน   เด็กบางคนอ่านเก่งมาก แต่เขียนหนังสือไม่เป็น จะเขียนสลับ ม้วนหัวไม่เป็นกลับด้าน เขียนไม่ตรงบรรทัด กะระยะไม่เป็นไม่มีมิติสัมพันธ์ในการกะระยะ ลายมือเด็กแอลดีจะคล้ายกันมาก จะจับดินสอแน่นมาก ลบบ่อยๆเขียนทับคำเดิมหลายๆครั้ง จะวัดได้เลยประถมขึ้นไป จึงจะรู้ว่าเป็นแอลดี(เลยอายุ7ขวบ)

          ภาพรวม เด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง 2เท่า แต่ด้านการคำนวณกลับกัน เพราะเด็กผู้ชายชอบการคำนวณ

            3) ด้านการคำนวณ  เด็กผู้หญิงจะเป็นเยอะมาก ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเมื่อทำการบวกลบ  ไม่เข้าใจหลักสิบร้อย  ตัวเลขผิดลำดับ เขียนสลับกลับด้านเหมือนกระจก ไม่เข้าใจซ้ายขวาใช้ได้ทั้ง2มือใช้ได้ทั้งคู่  ไม่รู้เวลาไม่เข้าใจเรื่องเวลา

            4) หลายๆด้านรวมกัน  น้อยมากจะเป็นทั้ง3ด้าน  บางคนด้านการอ่านและการเขียนร่วมกัน แต่จะเก่งด้านการคำนวณ  

      ออทิสติก (Autistic)  หรือ ออทิซึ่ม (Autism)    เป็นตลอดชีวิตไม่หาย แต่ดีขึ้นได้ 
             ชอบอยู่คนเดียว ไม่แคร์ ไม่สนใจ ไม่ฟัง ไม่พูด ไม่แสดงท่าทาง มีความมั่นใจในตัวเองมาก มือไวมาก ตบ หยิก ทุบ กระชากผม เด็กแต่ละคนจะมีบุคลิกเป็นของตนเอง 1คน 1อาการ  2คน ก้อ2อาการ 

     คำนิยาม  "ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว"

     ลักษณะของเด็กออทิสติก   
             อยู่ในโลกของตัวเอง อยู่คนเดียว ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ  ที่พบมากคือ จะมีการเคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ เช่น การกระทำ คำพูด

     พฤติกรรมการทำซ้ำ 
           -  นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง 
           -  นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน โยกเป็นชั่วโมง ไม่ว่าจะป็นเก้าอี้ตัวไหนๆ
           -  วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น ทำเป็นช่วงเวลา
           - ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม 

      Autistic Savant
           1) กลุ่มที่คิดด้วยภาพ มีภาพอยู่ในหัว เช่น พอพูดถึงสุนัข  ก็จะนึกภาพสุนัขอยู่ในหัว
           2) กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ  เช่น พอพูดถึงสุนัข จะนึกภาพไม่ออก แต่จะตอบได้ว่าสุนัขมี 4ขา แล้วนำไปเปรียบเทียบกับของจริง




คำศัพท์น่ารู้

      Children with Learning Disabilities     เด็กที่มความบกพร่องทางการเรียนรู้

      Learning Disabilities      ขาดความสามารถในการเรียนรู้

      Reading Disabilities       ด้านการอ่าน               

      Writing Disabilities        ด้านการเขียน

      Mathematic Disabilities      ด้านการคำนวณ  

      Autistic Savant      บุคคลที่มีความสามารถพิเศษ      


การประเมิน

ประเมินตัวเอง

          คาบนี้ตั้งใจเรียนมาก จดเนื้อหาที่สำคัญ จดที่อาจารย์เน้น และจดพยายามตั้งใจที่อาจารย์เล่าประสบการณ์ มีแอบคุยกับเพื่อนข้างๆบ้างนิดหน่อยค่ะ 

ประเมินเพื่อน

          คาบนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันทุกคน ฟังที่อาจารย์อธิบาย เพราะถ้าใครคุยหรือไม่ตั้งใจสิ่งที่อาจารย์อธิบาย อาจารย์จะไม่บอกแนวข้อสอบ

ประเมินอาจารย์ 

          อาจารย์มีเทคนิคในการสอนที่ดี สนุก ไม่เบื่อและไม่ง่วงด้วย ปกติเรียนคาบบ่ายจะง่วงมาก ชอบเวลาที่อาจารย์ยกตัวอย่างเหตุการณ์หรือเล่าประสบการณ์ เช่น  เด็กแอลดีชอบชี้คำเวลาอ่าน ข้างๆจะครียดกดดันมาก เราอยู่ข้างๆจะลุ้น ลุ้นว่าเด็กจะอ่านออกไหม ขณะที่อาจารย์เล่าถึงเหตุการณ์ สีหน้า คำพูดของอาจารย์ ทำให้หนูลุ้นไปด้วยค่ะ  





วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่8



บันทึกอนุทิน ครั้งที่8
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วันอังคาร ที่7 เดือนตุลาคม  พ.ศ. 2557


          ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก...

มหาลัยได้กำหนดสัปดาห์เป็นสัปดาห์ของการสอบกลางภาค ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2557




บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่7



บันทึกอนุทิน ครั้งที่7
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วันอังคาร ที่30 เดือนกันยายน  พ.ศ. 2557




        ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก... 

  อาจารย์เข้าร่วมอบรม จิตอาสาตามรอยแนวคิดเศรษกิจพอเพียง ณ. ตึกอธิการบดี ชั้น3

งานที่ได้รับมอบหมาย  ให้นักศึกษาทุกคนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง และเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบ